เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2568 ฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จัดการอบรม “พัฒนาบุคลากรวิจัยและนวัตกรรมด้านจริยธรรมการวิจัย” โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ชาญชัย พานทองวิริยะกุล เป็นประธานเปิดงาน และ ศาสตราจารย์ผิวพรรณ มาลีวงษ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นผู้กล่าวรายงานโครงการ
กิจกรรมจัดอบรมในครั้งนี้มีคณาจารย์ นักวิจัย และบุคคลทั่วไป ให้ความสนใจเข้าร่วมอบรมกว่า 206 คน ณ ห้องประชุม Auditorium อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค มหาวิทยาลัยขอนแก่น และรับชมจากทาง Online ผ่าน Facebook Page กองบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 3,074 ท่าน
ศาสตราจารย์ผิวพรรณ มาลีวงษ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า “การอบรมครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานโครงการพัฒนาบุคลากรวิจัยและนวัตกรรมด้านจริยธรรมการวิจัย ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนการจัดกิจกรรม จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบุคลากรวิจัยและนวัตกรรมด้านจริยธรรมการวิจัย ด้วยการอบรม เพื่อส่งเสริมพัฒนาบุคลากรวิจัยและนวัตกรรมด้านจริยธรรมการวิจัย ให้เกิดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับจริยธรรมการวิจัย การประพฤติผิดจริยธรรมการวิจัย และสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติและประยุกต์ใช้ ในการทำวิจัยให้ถูกต้อง สอดคล้องตามหลักจริยธรรมการวิจัยและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยครอบคลุมเนื้อหาสาระ ดังต่อไปนี้
โดยมีวิธีดำเนินงานในรูปแบบ การจัดอบรมและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ โครงการพัฒนาบุคลากรวิจัยและนวัตกรรมด้านจริยธรรมการวิจัย ให้กับผู้บริหาร นักวิจัย นักวิชาการ และบุคคลทั่วไปที่เกี่ยวข้อง ของสถาบันการอุดมศึกษา หน่วยงาน ภาครัฐ ภาคเอกชน ในรูปแบบผสมผสาน (Hybrid) จำนวน 6 ครั้ง
ในการจัดอบรมครั้งนี้เป็นการจัดอบรมครั้งที่ 4 มีผู้สมัครเข้ารับร่วมอบรมจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วประเทศ จำนวน 3,280 ท่าน แบ่งเป็น Online จำนวน 3,074 ท่าน Onsite 206 ท่าน ซึ่งการอบรมในครั้งนี้ ผู้เข้ารับการอบรมจะต้องผ่านเกณฑ์การประเมินตามกำหนดเงื่อนไข ร้อยละ 80 จึงจะได้รับวุฒิบัตรรับรองจาก วช.
รองศาสตราจารย์ นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า การอบรมพัฒนาบุคลากรวิจัย และนวัตกรรมด้านจริยธรรมการวิจัย สร้างความรู้ความเข้าใจ และความตระหนักถึงผลกระทบที่ตามมาจากการประพฤติผิด จริยธรรมการวิจัย รวมทั้งวิธีการแก้ไข และการป้องกันงานวิจัย ที่อยู่ในความเสี่ยง ให้ขึ้นมาอยู่ในระดับที่ มีความรับผิดชอบทางการวิจัย และนำไปสู่ความเชื่อมั่นว่า การดำเนินงานวิจัย จะเป็นไปตามหลักจริยธรรม กฎหมาย การทำงานวิจัยที่โปร่งใส มีคุณภาพ และเชื่อถือได้
“หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้เข้ารับการอบรม จะได้รับความรู้ ความเข้าเกี่ยวกับ หลักจริยธรรมการวิจัย การประพฤติผิดจริยธรรมการวิจัย การนำความรู้ไปปฏิบัติและประยุกต์ใช้ในการทำการวิจัยให้ถูกต้อง สอดคล้องตามหลักจริยธรรมการวิจัย และกฎหมายที่เกี่ยวข้องในโอกาสนี้ขอขอบคุณ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ที่ให้โอกาส มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมในวันนี้ ขอขอบคุณท่านวิทยากรทุกท่าน ที่ได้กรุณาสละเวลาอันมีค่า มาถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ แก่ผู้เข้าร่วมอบรมทุกท่าน และขอขอบคุณผู้เข้าร่วมการอบรมทุกท่าน ขอให้การอบรม พัฒนาบุคลากรวิจัยและนวัตกรรมด้านจริยธรรมการวิจัย บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้”