KKU Research Division

ปิดฉากอบรม AI สื่อสารวิทย์สุดล้ำ! ลับคมทักษะ! คณาจารย์-นักวิจัย ก้าวสู่ยุคสื่อสารวิทยาศาสตร์อัจฉริยะ! 

วันที่ 1 มีนาคม 2568 เวลา 09.00 – 12.00 น. ฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดพื้นที่กิจกรรมสร้างสรรค์ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ AI for Science Communication: Making Complex Science Simple and Visible” AI สำหรับการถ่ายทอดเรื่องราววิทยาศาสตร์: เปลี่ยนเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายและเห็นภาพชัดเจน ณ ห้อง EN18410 ชั้น 4 อาคาร 50 ปี วิศวะรวมใจ คณะวิศวกรรมศาสตร์  ซึ่งได้รับเกียรติจาก ศ.พญ.ผิวพรรณ มาลีวงษ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นผู้ได้รับมอบหมายจากอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้เป็นประธานพิธีเปิดและกล่าววัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม

โดยกิจกรรมนี้จัดขึ้นเพื่อพัฒนาทักษะการใช้ AI อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะการสื่อสารวิทยาศาสตร์ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ให้แก่ผู้เข้าร่วมอบรม โดยเน้นการนำ AI มาใช้ในการสร้างสรรค์เนื้อหาที่เข้าใจง่าย น่าสนใจ และดึงดูดความสนใจจากสาธารณชน ซึ่งทางฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยกองบริหารงานวิจัย ได้วางแผนจัดให้จัดกิจกรรในรูปแบบซีรีส์และเวิร์คช็อป เพื่อเสริมศักยภาพนักวิจัย มข. ให้สามารถใช้เทคโนโลยี AI ในการพัฒนาและสื่อสารผลงานวิจัยสู่สากล เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นในด้านการปรับเปลี่ยนการทำงานวิจัยและการนำมหาวิทยาลัยสู่ความเป็นนานาชาติ 
 
โดยซีรีส์แรกเริ่มต้นที่ AI สำหรับการถ่ายทอดเรื่องราววิทยาศาสตร์: เปลี่ยนเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายและเห็นภาพชัดเจน ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.ธีรพงษ์ พวงมะลิ อาจารย์ประจำหลักสูตรวัสดุศาสตร์และนาโนเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อีกทั้งยังเป็นนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญด้านเคมีที่ประสบความสำเร็จในการประยุกต์ใช้ AI สร้างภาพประกอบงานวิจัย จนได้รับการตีพิมพ์บนปกวารสารชั้นนำของ American Chemical Society ถึง 8 เรื่องในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี มาเป็นวิทยากรในการบรรยาย ซึ่งจัดในรูปแบบ Hybrid ที่มีทั้ง On site จากห้องประชุมและร่วมรับฟัง Online ผ่าน Facebook live 
 

ภายในงาน ผู้เข้าร่วมอบรมได้เรียนรู้เกี่ยวกับ:

  • พื้นฐานและหลักการทำงานของ AI ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารวิทยาศาสตร์
  • เครื่องมือและแอปพลิเคชัน AI ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์เนื้อหา เช่น การสร้างภาพกราฟิก การเขียน prompt ให้ตรงตามความต้องการ การสรุปบทความ เป็นต้น
  • เทคนิคการใช้ AI เพื่อทำให้เนื้อหาทางวิทยาศาสตร์ที่ซับซ้อน กลายเป็นเรื่องที่เข้าใจง่ายและเข้าถึงได้
  • การประยุกต์ใช้ AI ในการสร้างสรรค์สื่อประชาสัมพันธ์วิทยาศาสตร์ที่น่าสนใจและมีประสิทธิภาพ
 
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “AI for Science Communication: Making Complex Science Simple and Visible” ได้ปิดฉากอย่างสวยงาม โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมจากหลากหลายสาขา ทั้งนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ อาจารย์ บุคลากรสายสนับสนุน นักเรียน นักศึกษา และผู้ที่สนใจทั่วไป เข้าร่วมกิจกรรมอย่างคับคั่ง และได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.จีรนุช เสงี่ยมศักดิ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัย กล่าวขอบคุณผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่ให้ความสนใจการพัฒนาความรู้ในด้าน AI  ในการสื่อสารข้อมูลทางวิชาการ ในการถ่ายทอดความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ที่ซับซ้อนเข้าใจได้ง่ายและเห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น


 
 
KKU Research Sharing: