ศ.พญ.ผิวพรรณ มาลีวงษ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า “โครงการ Global Funding Initiative อนาคตที่ยั่งยืนผ่านทุนวิจัยระดับโลก เริ่มมาจากฝ่ายวิจัยและฝ่ายการต่างประเทศที่จับคู่นำเสนอหัวข้อ How to hunt global fund? ในการทบทวนยุทธศาสตร์และกำหนดโครงการสำคัญของมหาวิทยาลัยเพื่อดำเนินการในปี 2568-2571 ณ รร.โซฟิเทล กระบี่ เมื่อมิถุนายน 2567 จากการทำกลุ่มระดมสมอง ได้ข้อสรุปร่วมกันว่า การบรรลุวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น สู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยและพัฒนาชั้นนำระดับโลกในอันดับที่ดีขึ้น purpose หรือเป้าหมายที่อยากได้คือ คือการมีจำนวนและอันดับ WUR by subject ที่ดีขึ้น เพื่อไปสู่การมีอันดับTHE WUR หรือ QS WUR ที่ดีขึ้น สิ่งที่จะตอบโจทย์นี้ได้ คือ ทำอย่างไรที่จะส่งเสริมให้นักวิจัย มข สร้าง international Research network กับนักวิจัยในสถาบันชั้นนำระดับโลก และสามารถร่วมกันทำข้อเสนอโครงการเพื่อขอทุนวิจัยต่างประเทศได้มากขึ้น การเข้าถึงแหล่งทุนสนับสนุนการวิจัยในระดับโลก ยังเป็นความท้าทายสำคัญ โดยเฉพาะในด้านการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ การพัฒนาความพร้อมของนักวิจัย และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรต่างประเทศ

โครงการขับเคลื่อน Global Funding Initiative อนาคตที่ยั่งยืนผ่านทุนวิจัยระดับโลก จึงถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อเสริมสร้างระบบบริหารจัดการการขอรับทุนของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพ เพิ่มอัตราความสำเร็จของการได้รับทุน โดยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุนการดำเนินงานของนักวิจัย ตั้งแต่การค้นหาแหล่งทุน การจัดทำข้อเสนอโครงการ ไปจนถึงการบริหารจัดการโครงการวิจัยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล รวมทั้งพัฒนานักวิจัยและบุคลากรของมหาวิทยาลัยให้มีความสามารถระดับสากลในด้านที่เกี่ยวข้อง

กิจกรรม Global Funding Initiative: อนาคตที่ยั่งยืนผ่านทุนวิจัยระดับโลก ที่จัดในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการขอรับทุนวิจัยจากแหล่งทุนระดับโลก แลกเปลี่ยนประสบการณ์จากนักวิจัยที่เคยได้รับทุนระดับนานาชาติ ผ่านการนำเสนอ Impact Journeys from KKU Researchers ซึ่งจะเป็นแนวทางให้กับนักวิจัยท่านอื่น เปิดเวทีสำหรับการอภิปรายและระดมสมอง ในรูปแบบ Focus Group เพื่อค้นหา Passion & Pain Points ในแต่ละสาขา และร่วมกันหาแนวทางแก้ไข ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างนักวิจัย คณะวิชา และสถาบันพันธมิตร ผ่านกิจกรรม Team Building และการประชุมเชิงปฏิบัติการ” รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยกล่าว
Highlight ภายในงาน คือ เวที “Short Presentation: Impact Journeys from KKU Researchers” ที่จัดให้มีบรรยาการคล้าย Ted Talk และมี Speaker เป็นนักวิจัยชั้นแนวหน้าของ มข. จำนวน 11 ท่าน ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการขอทุนวิจัยจากต่างประเทศมาแบ่งปันเทคนิค เคล็ดลับ และประสบการณ์ในการขอทุนวิจัยแบบ exclusive โดยแบ่งการนำเสนอเป็น 2 session ในภาคเช้าของกิจกรรม
Session 1:
- หัวข้อ “Contributing factors and journey to global fund: experience sharing & Perspectives”
โดย ศาสตราจารย์เกียรติไชย ฟักศรี
สาขาวิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ - หัวข้อ “Research and Development Opportunity in A New Era for Future Food, Functional Food and Smart Food for Sustainability”
โดย ศาสตราจารย์จินตนาภรณ์ วัฒนธร
สาขาวิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์
- หัวข้อ “Empowering Southeast Asia: Transforming Oral Health Through Research and Training”
โดย รองศาสตราจารย์วรานุช ปิติพัฒน์
แขนงวิชาทันตสาธารณสุข สาขาวิชาทันตกรรมป้องกัน
คณะทันตแพทยศาสตร์
- หัวข้อ “Combatting Cholangiocarcinoma in Lao PDR”
โดย รองศาสตราจารย์วัชรินทร์ ลอยลม
สาขาวิชาชีววิทยาศาสตร์ระบบและการแพทย์เชิงคอมพิวเตอร์
คณะแพทยศาสตร์
- หัวข้อ “The power of young investigators: international collaboration for cancer research and traditional medicine promotion”
โดย รองศาสตราจารย์จารุพงษ์ แสงบุญมี
สาขาวิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ - หัวข้อ “Key Elements Impacting the Evaluation of National/International Grant Proposals”
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์จุฑารพ เพชระบูรณิน
สาขาวิชาชีววิทยาศาสตร์ระบบการแพทย์เชิงคอมพิวเตอร์
คณะแพทยศาสตร์

Session 2:
- หัวข้อ “Towards low-carbon livestock production”
โดย ศาสตราจารย์เมธา วรรณพัฒน์
สาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ - หัวข้อ “How to get funded from international donors: the experience of Center for Civil Society and Nonprofit Management”
โดย ศาสตราจารย์บัวพันธ์ พรหมพักพิง
สาขาวิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ - หัวข้อ “ESG and Circular Innovation: Transforming Agricultural Waste into Value”
โดย รองศาสตราจารย์ภาณินี นฤธาราดลย์
สาขาวิชาบริหารธุรกิจ นวัตกรรม และวิทยาศาสตร์ประยุกต์
วิทยาลัยนานาชาติ - หัวข้อ “How Technology and Talent Drive a More Connected and Sustainable World”
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชิตสุธา สุ่มเล็ก
สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ - หัวข้อ “The Power of Spatial Data to Make a Sustainable Future”
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปัทมพร วงศ์วิริยะ
สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

Keep Going กันต่อในภาคบ่าย กับกิจกรรม Town Hall meeting ที่ชวนนักวิจัยรวมตัวกันแลกเปลี่ยน passion & pain point โดยจัดตามกลุ่ม 3 กลุ่มคือ เพื่อกับกิจกรรมอภิปรายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเพื่อเพื่อหา Passion & Pain Points โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
- กลุ่ม Health Sciences and Health Professions
- กลุ่ม Agricultural Sciences Engineering and Technology & Computer Science
- กลุ่ม Business & Economics and Arts & Humanities
ก่อนจะปิดท้ายกิจกรรมในวันนี้ด้วยกิจกรรม Team Building ซึ่งกิจกรรม Global Funding Initiative: อนาคตที่ยั่งยืนผ่านทุนวิจัยระดับโลก สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของมหาวิทยาลัยขอนแก่นในการขับเคลื่อนงานวิจัยให้แข่งขันได้ในระดับนานาชาติ โดยขับเคลื่อนผ่านคณะกรรมการขับเคลื่อน Global Funding Initiative ซึ่งเป็นการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับประเทศและโลก