KKU Research Division

ฝ่ายวิจัย มข. จัดบรรยายพิเศษ ร่วมกับ สกสว. และสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษ หัวข้อ “บทบาทของ สกสว. และ UK ในการเชื่อมโยงงานวิจัยไทยสู่เวทีโลกอย่างยั่งยืน”

เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2568 ฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และ สถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย จัดกิจกรรมบรรยายพิเศษหัวข้อ “บทบาทของ สกสว. และ UK ในการเชื่อมโยงงานวิจัยไทยสู่เวทีโลกอย่างยั่งยืน”
ในรูปแบบ Hybrid ทั้งการเข้าร่วม ณ ห้อง Meeting Room 5 ชั้น 3 อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และการถ่ายทอดสดผ่าน Facebook Live
 
โดยได้รับเกียรติจาก รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวเปิดกิจกรรม พร้อมด้วยคณาจารย์ นักวิจัย และบุคลากรจากหลากหลายหน่วยงานเข้าร่วมอย่างคึกคัก
 
🔹 หัวข้อบรรยายที่ 1: “แนวนโยบายการสานพลังบุคลากรในระบบ ววน. เพื่อให้เกิดผลกระทบที่สูงและยั่งยืน”
โดย รองศาสตราจารย์ ดร.คมกฤต เล็กสกุล
รองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.)
ผู้เข้าร่วมได้เข้าใจโครงสร้างและบทบาทของบุคลากรในระบบ ววน. (วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม) รวมถึงแนวทางในการขับเคลื่อนงานวิจัยให้เกิดผลกระทบที่เป็นรูปธรรมและยั่งยืน โดยเน้นการเชื่อมโยงนโยบายกับการบริหารจัดการทุนวิจัยและการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยอย่างบูรณาการ
ในช่วงท้ายของการบรรยาย ศาสตราจารย์ ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) ได้เข้าร่วมกิจกรรม พร้อมแสดงวิสัยทัศน์ในการผลักดันระบบวิจัยของประเทศ และได้รับเกียรติจาก ศ.นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เข้าร่วมรับฟังการบรรยาพิเศษในครั้งนี้
 
 
🟩 หัวข้อบรรยายที่ 2: “UK Science Funding Opportunities”
โดย คุณชวิศ อุตตมาชัย
ที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม สถานเอกอัครราชทูตอังกฤษ
การบรรยายนี้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้รับข้อมูลโดยตรงเกี่ยวกับแหล่งทุนวิจัยระหว่างประเทศภายใต้ International Science Partnerships Fund (ISPF) และกลไกความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและสหราชอาณาจักร แนวโน้มความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมระหว่างไทยกับสหราชอาณาจักร โดยเฉพาะในสาขา Genomics, ปัญญาประดิษฐ์ (AI), วิศวกรรมชีวการแพทย์ และการต่อต้านเชื้อดื้อยา (AMR) ตลอดจนแนวทางการเตรียมความพร้อมในการขอรับทุนระดับนานาชาติ และการเข้าสู่เครือข่ายนักวิจัยระดับโลก
 
 
🎬 นอกจากนี้ยังมีช่วงพิเศษ ผู้เข้าร่วมได้ชมวิดิทัศน์จากนักวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 6 ท่าน ได้แก่
  1. ศ.นพ.ภิเศก ลุมพิกานนท์
  2. ศ.พญ.แจ่มใส เพียรทอง
  3. ศ.ดร.บรรจบ ศรีภา
  4. รศ.ดร.กฤตพล สมมาตย์
  5. รศ.ดร.ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์
  6. ผศ.ดร.ฌาน เรืองธรรมสิงห์
ซึ่งได้ถ่ายทอดประสบการณ์ตรงจากการได้รับทุนวิจัยจากต่างประเทศ พร้อมเคล็ดลับ ความสำเร็จ และบทเรียนที่สามารถนำไปปรับใช้ในการสมัครทุนวิจัยระดับนานาชาติได้อย่างเป็นรูปธรรม
 
 
 
🗣 ปิดท้ายกิจกรรม โดย ศ.พญ.ผิวพรรณ มาลีวงษ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้กล่าวขอบคุณวิทยากร ผู้เข้าร่วม และเชิญชวนเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการ Global Funding Initiative (GFI) ในครั้งถัดไปที่จะจัดขึ้นในวันที่ 28 เมษายน 2568 โดยยังคงมุ่งเน้นการส่งเสริมความร่วมมือวิจัยระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่อง
KKU Research Sharing: