KKU Research Division

Khon Kaen University’s Research and Innovation Affairs Organizes the 2025 Biosafety and Biosecurity Hands-on Training Workshop for Biological Safety Level-II (BSL-II)

ศูนย์เครื่องมือวิจัย มข. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “ความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ สำหรับ BSL-II ประจำปี 2568”

The Research and Innovation Affairs of Khon Kaen University, through the KKU Research Instrumentation Center, the Research Administration Division, and the Department of Microbiology, Faculty of Medicine, organized the 2025 Biosafety and Biosecurity Hands-on Training Workshop for BSL-II on May 15–16, 2025. The event took place in the Auditorium Room, Administration Building, Khon Kaen University Science Park.

ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ มข. , กองบริหารงานวิจัย และสาขาวิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ จัดกิจกรรมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ สำหรับ BSL-II ประจำปี 2568

ในวันที่ 15–16 พฤษภาคม 2568 ณ ห้องประชุม Auditorium อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

This training was honored by the presence of Professor Pewpan Maleewong, MD, Vice President for Research and Innovation, who presided over the opening ceremony. 

โดยกิจกรรมนี้ได้รับเกียรติจาก ศ.พญ.ผิวพรรณ มาลีวงษ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดกิจกรรม

It was also honored by Associate Professor Sorujsiri Chareonsudjai, PhD, Secretary and Member of the Biosafety Committee at Khon Kaen University, who presented the objectives of the training.

The workshop aimed to provide knowledge on biosafety and biosecurity practices and procedures. The curriculum, certified by the Department of Medical Sciences, included pre-training knowledge assessments, theoretical lectures, practical training sessions, and post-training assessments. It was designed for personnel operating or handling pathogens and toxins under the Pathogens and Toxins Act, B.E. 2558 (2015), as well as individuals working with such materials.  More than 136 participants attended the training, representing various organizations both within and outside Khon Kaen University, including academic institutions, hospitals, private companies, and medical science centers.

พร้อมทั้งได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.โสรัจสิริ เจริญสุดใจ เลขานุการและคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้เกียรติในการกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมการฝึกอบรมครั้งนี้

ซึ่งการจัดกิจกรรมนี้จัดขึ้นเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับแนวปฏิบัติและวิธีปฏิบัติด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ โดยหลักสูตรผ่านการรับรองจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประกอบด้วยการทดสอบวัดความรู้ก่อนการฝึกอบรมและการบรรยายภาคทฤษฎี และการฝึกภาคปฏิบัติและการทดสอบวัดความรู้หลังการฝึกอบรม แก่ผู้ประสงค์เป็นผู้ดำเนินงานและผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ ตามพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ. 2558 รวมถึงผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมจำนวนกว่า 136 คน ซึ่งมาจากหลายหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยขอนแก่น อาทิเช่น สถาบันการศึกษา, โรงพยาบาล, บริษัทเอกชน และศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นต้น

Throughout the two-day training, participants attended lectures delivered by distinguished experts. Topics included:

  • Relevant laws on biosafety and biosecurity, by Professor Surasakdi Wongratanacheewin, PhD
  • Principles of biosafety and biosecurity, by Assistant Professor Arnone Nithichanon, PhD
  • Biorisk management, by Associate Professor Sorujsiri Chareonsudjai, PhD
  • Biosafety practices and laboratory biosafety levels, by Professor Kiatichai Faksri, PhD
  • Personal Protective Equipment (PPE), by Dr. Pratsanee Hiangraj, PhD
  • Biosafety equipment and biosafety cabinets, by Associate Professor Supranee Phanthanawiboon, PhD
  • Disinfection and sterilization, by Assistant Professor Auttwit Sirichoat, PhD
  • Transportation of pathogens, by Associate Professor Sakawrat Kanthawong, PhD
  • Infectious Laboratory Waste Management, by Assistant Professor Umaporn Yordpratum, PhD
  • Emergency responses: Biological spill response, by Assistant Professor Sirinart Aromseree, PhD

 

The hands-on training sessions covered:

  • Skill development in biosafety practices
  • Donning and doffing PPE and hand hygiene
  • Laboratory facility design and equipment placement
  • Biological spill kit management
  • Biosafety cabinet usage
  • Packaging and documentation for the shipment of biological samples following IATA standards

 

ซึ่งตลอดระยะเวลา 2 วันนี้ ผู้เข้าอบรมจะได้รับฟังบรรยายโดยหลักสูตรผ่านการรับรองจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จากผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้

  1. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ Biosafety และ Biosecurity วิทยากร โดย ศ.ดร.สุรศักดิ์ วงศ์รัตนชีวิน 
  2. หลักการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ วิทยากร โดย ผศ.ดร.อานันต์ นิธิชานน
  3. การจัดการความเสี่ยงทางชีวภาพ (Biorisk Management) วิทยากร โดย รศ.ดร.โสรัจสิริ เจิรญสุดใจ
  4. การปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพและระดับความปลอดภัยทางชีวภาพของห้องปฏิบัติการ วิทยากร โดย ศ.ดร.เกียรติชัย ฟักศรี
  5. อุปกรณ์ปกป้องส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment: PPE) วิทยากร โดย อ.ดร.ปรัศนีย์ เฮียงราช
  6. อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย (Biosafety equipment and biosafety cabinet) วิทยากร โดย รศ.ดร.สุปราณี พันธุ์ธนวิบูลย์
  7. การทำลายเชื้อโรค (Disinfection and sterilization) วิทยากร โดย ผศ.ดร.อรรถวิทย์ ศิริโชติ
  8. การขนส่งเชื้อโรค (Transportation) วิทยากร โดย รศ.ดร.สกาวรัตน์ กันทะวงศ์
  9. การจัดการขยะติดเชื้อ (Laboratory Waste Management) วิทยากร โดย ผศ.ดร.อุมาพร ยอดประทุม
  10. Emergency responses: Biological spill response วิทยากร โดย ผศ.ดร.สิรินาถ อารมย์เสรี 

พร้อมทั้งการฝึกภาคปฏิบัติ ซึ่งเป็นการแบ่งเป็น 5 ฐาน ประกอบด้วย

  • การฝึกปฏิบัติเสริมสร้างทักษะด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ
  • การสวมใส่และการถอดอุปกรณ์ปกป้องส่วนบุคคล (Hand hygiene & Personal Protective Equipment)
  • การออกแบบสถานที่การจัดวางเครื่องมือและอุปกรณ์ในสถานปฏิบัติการ (Facility design)
  • การจัดการสารชีวภาพรั่วไหล (Biological spill kit)
  • Biosafety cabinet
  • บรรจุภัณฑ์และเอกสารที่ใช้ในการจัดส่งตัวอย่างทางชีวภาพ ตามหลัก IATA
KKU Research Sharing: