การค้าระหว่างประเทศในภาคอุตสาหกรรมและการเข้าร่วมการผลิตในห่วงโซ่มูลค่าโลกต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศสมาชิกอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
Researcher:Asst. Prof. Dr. Teerawat Charoenrat
Contact: teerch@kku.ac.th
Collaborator:International Institute for Trade and Development, ITD
Patent:
A study of the factors influencing the industrial sector of the Mekong Subregion Member States in participating in manufacturing in the Global Value Chain under the United Nations Sustainable Development Goals, SDGs), it can be concluded that although the global value chain is beneficial to industrial sectors in developing countries. But the benefits of the global value chain may not be equal in such countries. The most important way to benefit the value chain system as a whole is Building an Inclusive Global Value Chain, which will create opportunities for SMEs in the Greater Mekong Subregion to benefit from joining the global value chain. The important approach is “Reducing trade costs” includes improving transport infrastructure. Development of commercial facilities And reduce the non-tax barriers between them In addition, it should focus on developing labor skills in small and medium enterprises and enhancing innovation. Especially in the use of information technology systems Which will lead to the development of product standards to be equal with international standards

การศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาคอุตสาหกรรมของประเทศสมาชิกอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงในการเข้าร่วมการผลิตในห่วงโซ่มูลค่าโลก (Global Value Chain) ภายใต้กรอบเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (sustainable development goals, SDGs) กล่าวโดยสรุปได้ว่าถึงแม้ว่าห่วงโซ่มูลค่าโลกจะเป็นประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมในประเทศกำลังพัฒนาก็ตาม แต่ประโยชน์ที่ได้รับของห่วงโซ่มูลค่าโลกอาจจะไม่เท่าเทียมกันในประเทศดังกล่าว โดยแนวทางที่สำคัญที่สุดที่จะให้ระบบห่วงโซ่มูลค่าได้รับประโยชน์ในส่วนรวมก็คือ การสร้างระบบห่วงโซ่มูลค่าที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน (Inclusive Global Value Chain) ซึ่งจะเป็นการสร้างโอกาสให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมห่วงโซ่มูลค่าโลกได้มากขึ้น โดยแนวทางที่สำคัญก็คือ “การลดต้นทุนการค้า”ซึ่งรวมไปถึงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง การพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้า และลดกำแพงที่ไม่ใช่ภาษีระหว่างกัน นอกจากนี้ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะแรงงานในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและยกระดับนวัตกรรมให้ โดยเฉพาะในการใช่ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งจะนำมาสู่การพัฒนามาตรฐานสินค้าให้เท่าเทียมกับมาตรฐานระดับสากล

The research is beneficial to the industrial sector of the GMS Countries member countries in participating in global value chain production under the United Nations sustainable development goals framework. , SDGs)

Post Views: 239