Ability of independence and body compositions in individuals with spinal cord injury

| 0

ชื่อโครงการ ระดับการพึ่งพาตนเองกับองค์ประกอบร่างกายในผู้ที่มีการบาดเจ็บไขสันหลัง

Ability of independence and body compositions in individuals with spinal cord injury

ชื่อนักวิจัย อาภัสนันท์ วิยะนัด

Arpassanan Wiyanad

คณะ/หน่วยงาน เทคนิคการแพทย์
รายละเอียดการติดต่อ โทรศัพท์มือถือ 087-569-2665

E-mail : arpassanan@kkumail.com

ชื่อที่ปรึกษาโครงการ สุกัลยา อมตฉายา
คณะ/หน่วยงาน
สาขากายภาพบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์
รายละเอียดการติดต่อ เบอร์โทรศัพท์ 081-346-6036

E-Mail : samata@kku.ac.th
ลักษณะของโครงการวิจัย การบาดเจ็บไขสันหลังมักส่งผลให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการเสื่อมถอยขององค์ประกอบร่างกาย (body composition decline) โดยผู้ป่วยมักมีมวลกล้ามเนื้อและมวลกระดูกลดลง ในขณะที่มีมวลไขมันเพิ่มขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบร่างกายเหล่านี้ อาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการออกแรง การเคลื่อนไหว การพึ่งพาตนเอง รวมถึงภาวะสุขภาพของผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง อย่างไรก็ตาม การตรวจประเมินองค์ประกอบร่างกายต้องทำในโรงพยาบาล โดยใช้เครื่องมือราคาแพง เช่น DXA, MRI หรือ CT scan ปัจจุบันยังไม่มีรายงานที่ชัดเจนในการยืนยันความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของร่างกายและการพึ่งพาตนเองของผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง นอกจากนี้ การตรวจประเมินองค์ประกอบร่างกายที่ต้องอาศัยเครื่องมือราคาแพง ทำโดยผู้เชี่ยวชาญ ยังจำกัดการประเมินเพียงในผู้ที่มีอาการและความผิดปกติชัดเจน ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพในการจัดการและการรักษา ด้วยเหตุนี้ การวิจัยเพื่อให้ได้แนวทางการประเมินอย่างง่ายสำหรับการคัดกรองและระบุผู้ที่มีความผิดปกติขององค์ประกอบร่างกายในบริบทต่างๆ น่าจะเป็นแนวทางสำคัญในการส่งเสริมประสิทธิภาพการดูแลและส่งเสริมระดับการพึ่งพาตนเองของผู้ป่วยกลุ่มนี้ ดังนั้น การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบร่างกายกับระดับการพึ่งพาตนเองที่ประเมินจากการทดสอบมาตรฐานต่างๆ สำหรับผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังทั้งที่เดินได้และเดินไม่ได้ 2) พัฒนานวัตกรรมการประเมินที่สามารถระบุองค์ประกอบของร่างกายของผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังที่สามารถทำได้ง่ายในสถานที่ต่างๆ 3) พัฒนาโปรแกรมทางโทรศัพท์ (mobile application) สำหรับการระบุปริมาณองค์ประกอบร่างกายของผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง รวมถึงให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม จากผลการประเมินอย่างง่ายที่ได้ในการศึกษานี้ ผลการศึกษาที่ได้น่าเป็นประโยชน์ในการดูแลและส่งเสริมความสามารถในการพึ่งพาตนเองและป้องกันความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังในบริบทต่างๆ โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการจำกัดการให้บริการในโรงพยาบาลต่างๆ ได้