KKU Spiritual Products

| 0
Peptides and proteins with biological and cosmetic properties to utilize and develop products with many economic values Instead of disposing or disposing of waste continuing from previous research at the research team Under the 2021 research program, a study of the cosmetic effects of chicken meat extract Found to have the potential and properties as a cosmetic active ingredient By affecting the relevant skin cells interestingly, including in reducing melanin pigment production and stimulating the division of basal cells Increase collagen production in fibroblasts Again, it has good anti-oxidation effect. And from the research study of Associate Professor Dr.Khaetthareeya Sutthanut and team on the medicinal effects of extracts from various local medicinal plants such as ginger, sapphire, male, and others are found to be potential raw materials. makes it possible to develop formulas, formulas, and products that contain active ingredients, and cosmetics that are formulated between these medicinal plants and animal peptides To increase the effectiveness of the action better And cover the target cause that results in various skin problems such as UV rays, free radicals Skin function and white blood cells on normal skin That results in skin dull, lack of moisture, not elastic, wrinkles, easy to cause And easily infected dermatitis, etc.
เปบไทด์และโปรตีนที่มีคุณสมบัติทางชีวภาพและเวชสำอาง เพื่อนำมาใช้ประโยชน์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจได้อีกมากมาย แทนที่จะกำจัดทิ้งหรือปล่อยให้เสียไปโดยเปล่าประโยชน์ ต่อเนื่องจากงานวิจัยก่อนหน้านี้ที่ทางคณะวิจัย (รศ.ดร. แคทรียา สุทธานุช และคณะ) ภายใต้โปรแกรมวิจัย ปี 2564 ได้ทำการศึกษาฤทธิ์เวชสำอางของสารสกัดจากเนื้อไก่ พบว่ามีศักยภาพและคุณสมบัติเป็นสารออกฤทธิ์เวชสำอาง โดยส่งผลต่อเซลล์ผิวหนังที่เกี่ยวข้องได้อย่างน่าสนใจ ได้แก่ ในการลดการสร้างเม็ดสีเมลานิน และ กระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์บาส เพิ่มการสร้างคอลลาเจน ในเซลล์ไฟโบรบลาสต์ อีกครั้งมีฤทธิ์ต้าน ออกซิเดชันที่ดี และจากการศึกษาวิจัยของ รศ.ดร. แคทรียา สุทธานุช และคณะ ในฤทธิ์เวชสำอางของสารสกัดจากพืชสมุนไพรท้องถิ่นชนิดต่างๆ เช่น ขิง ไพล กระชาย และอื่นๆ พบว่าเป็นวัตถุดิบที่มีศักยภาพ ทำให้เห็นความเป็นไปได้ในการพัฒนาสูตรตำรับและผลิตภัณฑ์ที่มีสารออกฤทธิ์เวชสำอางที่เป็นสูตรผสมระหว่างสารพฤษเคมีจากพืชสมุนไพรเหล่านี้และเปบไทด์จากสัตว์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ที่ดีขึ้น และครอบคลุมสาเหตุเป้าหมายที่ส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ กับผิวหนัง เช่น รังสียูวี อนุมูลอิสระ การทำงานของเซลล์ผิวหนังและเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ผิวปกติ ที่ส่งผลทำให้ผิวหมองคล้ำ ขาดความชุ่มชื้น ไม่ยืดหยุ่น เกิดริ้วรอย เกิดการแพ้ง่าย และผิวหนังอักเสบติดเชื้อได้ง่าย เป็นต้น