Development of a rapid test kit for detection of anti-Opisthorchis viverrini IgG antibody in human blood samples as the potential diagnostic biomarker to predict risk of cholangiocarcinoma in opisthorchiasis patients

ชื่อโครงการ การพัฒนาชุดตรวจวัดแอนติบอดีชนิด IgG ต่อ พยาธิใบไม้ตับ Opisthorchis viverrini อย่างรวดเร็วในตัวอย่างเลือด (Whole blood sample) เพื่อค้นหาตัวบ่งชี้ทางชีวภาพที่ทำนายความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดีในผู้ติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ

Development of a rapid test kit for detection of anti-Opisthorchis viverrini IgG antibody in human blood samples as the potential diagnostic biomarker to predict risk of cholangiocarcinoma in opisthorchiasis patients

ชื่อนักวิจัย ลักขณา สะเดา

Lakkhana Sadaow

คณะ/หน่วยงาน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รายละเอียดการติดต่อ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพลุ่มน้ำโขง อาคารเวชวิชชาคาร คณะเเพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002

โทรศัพท์มือถือ 088-5503831

อีเมล์ sadaow1986@gmail.com

ชื่อที่ปรึกษาโครงการ ผิวพรรณ มาลีวงษ์
คณะ/หน่วยงาน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพลุ่มแม่น้ำโขง และฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา สำนักงานอธิการบดี ม.ขอนแก่น
รายละเอียดการติดต่อ 1. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพลุ่มแม่น้ำโขง มหาวิทยาลัยขอนแก่น อาคารเวชวิชาคาร ชั้น 3 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 123 หมู่ 16 ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002

2. กองบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น สำนักงานอธิการบดี อาคาร 2 123 หมู่ 16 ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002

เบอร์โทร : 097-306-2345

E-Mail : pewpan@kku.ac.th

ลักษณะของโครงการวิจัย บทคัดย่อ: พยาธิใบไม้ตับ Opisthorchis viverrini และ Clonorchis sinensis จัดเป็น group 1 biological carcinogens การติดเชื้อแบบซ้ำของพยาธิใบไม้ตับทั้งสองชนิดนี้ในคน เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งท่อน้ำดี (Fluke-related Cholangiocarcinoma; CCA) ประชากรทั่วโลกโดยประมาณ 600 ล้านคนที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับทั้งชนิด O. viverrini และ C. sinensis พบการติดเชื้อ O. viverrini ในประเทศแถบตอนล่างของลุ่มแม่น้ำโขง ได้แก่ กัมพูชา ประชาธิปไตยประชาชนลาว ตอนใต้เวียดนาม พม่า และไทย ในส่วนของโรค clonorchiasis พบทางตอนเหนือเวียดนาม จีน และเกาหลี วิธีมาตรฐานที่ใช้ในการวินิจฉัยของการติดพยาธิใบไม้ในตับทั้งสองชนิดคือการตรวจพบไข่พยาธิในอุจจาระ น้ำดี หรือของเหลวจากลำไส้เล็กส่วนต้น วิธีการดังกล่าวต้องทำในห้องปฏิบัติการและต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญด้านปรสิตวิทยาในการตรวจใต้กล้องจุลทรรศน์ แต่ในผู้ป่วยบางรายที่เกิดการอุดตันของท่อทางเดินน้ำดี ทำให้ไข่พยาธิไม่ปนออกมาในอุจจาระ หรือมีโอกาสพบไข่พยาธิได้น้อยมาก ในระยะเรื้อรังผู้ป่วยอาจจะพัฒนาไปโรคมะเร็งท่อน้ำดีได้ วิธีทางด้านภูมิคุ้มกันน้ำเหลืองวิทยาเป็นวิธีดั้งเดิมที่มีความไวสูงในการตรวจหาแอนติบอดีในผู้ที่ติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับทั้งสองชนิด ผู้วิจัยจึงใช้เทคโนโลยี immunochromatography มาพัฒนาชุดทดสอบโรคพยาธิใบไม้ตับในตัวอย่างเลือดของคนแบบรวดเร็ว โดยใช้โปรตีนจากพยาธิใบไม้ตับมาเป็นแอนติเจน ในการตรวจวัดระดับการตอบสนองของแอนติบอดีชนิด IgG ต่อการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับในตัวอย่างเลือดคน เพื่อเป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ (biomarker) ที่นำมาทำนายความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดีในผู้ติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ มีค่าความไว และความแม่นยำสูง สะดวกและอ่านผลด้วยตาเปล่าภายใน 15 นาที

Abstract : Opisthorchis viverrini and Clonorchis sinensis are classification in group 1 biological carcinogens, a recurrent infection of liver flukes was found in humans. It is an important cause of bile duct cancer (Fluke-related Cholangiocarcinoma; CCA). An estimated 600 million people throughout the world are at risk of infection with O. viverrini or C. sinensis. O. viverrini infection is a major public health problem in the Southeast Asian region, especially in regions along the drainage of the lower Mekong River—Cambodia, Lao People’s Democratic Republic, southern Vietnam, Myanmar, and Thailand. C. sinensis is the main helminth causing a major public health problem in northern Vietnam, China, and Korea. The gold standard for diagnosis of human liver fluke infection is the demonstration of eggs in feces, bile, or duodenal fluid by microscopic examination method. However, the method is required the expertise of the experienced technicians. However, incases of obstruction of the bile duct or a light infection, eggs may not be found. Chronic human infection possible be developed to CCA. Serodiagnostic methods are highly sensitive alternative techniques for detection of opisthorchiasis and clonorchiasis infections. In this study, the immunochromatographic test will be developed as the point-of-care (POC) testing tool for detection of specific of IgG antibody in human blood samples using O. viverrini antigen. The development of the POC test kit for diagnosis liver fluke infection may be useful to identify the infected individuals who are at a high risk of liver fluke-associated CCA. The kit will be developed highly in sensitivity specificity, easily and ready to use in 15 minutes.