Genetic Perspective of northeastern Thai People revealed by X chromosomal analysis

ชื่อโครงการ การสืบประวัติเชื้อสายของประชากรชาวไทยอีสาน ด้วยการวิเคราะห์โครโมโซมเอกซ์

Genetic Perspective of northeastern Thai People revealed by X chromosomal analysis

ชื่อนักวิจัย ศุภรัตน์ ศรีทะวงษ์

Suparat Srithawong

คณะ/หน่วยงาน สาขาวิชาชีววิทยา คณวิทยาศาสตร์
รายละเอียดการติดต่อ สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ.เมือง จ. ขอนแก่น 40002

โทรศัพท์มือถือ 0805191653

 

E-mail : suparat_sr@kkumail.com

ชื่อที่ปรึกษาโครงการ  วิภู กุตะนันท์
คณะ/หน่วยงาน สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์
รายละเอียดการติดต่อ สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ.เมือง จ. ขอนแก่น 40002

โทรศัพท์มือถือ 0918608905

E-Mail : vipugu@gmail.com

ลักษณะของโครงการวิจัย ไมโครแซเทลไลท์บนโครโมโซมเอกซ์ มีลักษณะการถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่แตกต่างกันระหว่างเพศชายและเพศหญิง ลักษณะที่จำเพาะนี้ไม่เพียงแต่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ทางสายเลือดที่ซับซ้อนหรือใช้ในคดีล่วงละเมิดทางเพศ ไมโครแซเทลไลท์บนโครโมโซมเอกซ์ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการศึกษาพันธุศาสตร์ของประชากรของมนุษย์ อย่างไรก็ตามการศึกษาไมโครแซเทลไลท์บนโครโมโซมเอกซ์ในประเทศไทยยังมีจำนวนจำกัดเมื่อเทียบไมโครแซเทลไลท์บนออโทโซมและโครโมโซมวาย การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายการศึกษาไมโครแซเทลไลท์บนโครโมโซมเอกซ์ในประเทศไทย โดยรายงานค่าความถี่อัลลีล ความถี่แฮโปลไทป์ พารามิเตอร์ทางนิติวิทยาศาสตร์ และพารามิเตอร์ทางพันธุศาสตร์ประชากร ของไมโครแซเทลไลท์บนโครโมโซมเอกซ์ จำนวน 12 ตำแหน่ง ดังนี้ DXS10148 DXS10135 DXS8378 DXS7132 DXS10079 DXS10074 DXS10103 HPRTB DXS10101 DXS10146 DXS10134 และ DXS7423 คณะผู้วิจัยทำการหาจีโนไทป์จากตัวอย่างประชากรไทย ทั้งหมด 1,044 คน (ผู้ชาย 481 และ ผู้หญิง 563) ครอบคลุม 4 ภูมิภาคของประเทศไทย ได้แก่ ประชากรภาคเหนือ 137 คน (ผู้ชาย 69 และ ผู้หญิง 68) ภาคกลาง 292 คน (ผู้ชาย 137 และ ผู้หญิง 155) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 546 คน (ผู้ชาย 242 และ ผู้หญิง 304) และภาคใต้ 69 คน (ผู้ชาย 33 และ ผู้หญิง 36) ผลการวิเคราะห์ประชากรไทยรวมทุกภาค พบจำนวนอัลลีลทั้งหมด 252 อัลลีล ซึ่งมีความถี่อัลลีลอยู่ในช่วง 0.0007 ถึง 0.4587 โดยตำแหน่ง DXS10148 มีความหลากหลายสูงสุด มีอัลลีลทั้งหมด 40 รูปแบบ พร้อมทั้งมีค่าความหลากหลายของยีน และ ค่า polymorphism information content สูงสุด (0.9432 และ 0.9395 ตามลำดับ) ผลการวิเคราะห์ความหลากหลายของประชากรไทยในแต่ละภูมิภาค พบว่าทุกภูมิภาคมีค่าความหลากหลายของยีนและแฮโปลไทป์มากกว่า 0.8 และ 0.9 ตามลำดับ ในขณะที่ความหลากหลายของยีนและแฮโปลไทป์ของประชากรไทยทั้งหมด เท่ากับ 0.8160 และ 0.9935 ตามลำดับ นอกจากนี้ ค่า PDmale, PDfemal MECKruger,MECKishida, MECDesmarais และ ค่า MECDesmarais Duo รวมทุกตำแหน่ง มีค่าสูง อยู่ในช่วง 0.999999 ถึง 1.0000 แสดงถึงศักยภาพของเครื่องหมายทางพันธุกรรมชนิดนี้ในการประยุกต์เพื่อสืบสวนทางนิติวิทยาศาสตร์ สำหรับความหลากหลายของแฮโปลไทป์ในผู้ชาย พบความถี่สูงสุดในกลุ่ม Linkage group 1 (DXS8378- DXS10135-DXS10148) ซึ่งมีรูปแบบแฮโปลไทป์ที่แตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค นอกจากนี้ ตำแหน่ง DXS10135 มีค่าความผันแปรทางพันธุกรรมสูงในประชากรภาคเหนือ และภาคใต้ ในขณะที่ตำแหน่ง DXS10148 มีค่าความผันแปรทางพันธุกรรมสูงในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยสรุป ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงถึงคุณภาพของเครื่องหมายทางพันธุกรรมชนิดนี้ในการแยกแยะบุคคล และสามารถระบุความแตกต่างระหว่างประชากรไทยในแต่ละภูมิภาค ซึ่งเป็นประโยชน์ต่องานนิติวิทยาศาสตร์และการศึกษาพันธุศาสตร์ประชากรในประเทศไทยต่อไป