Identification of genes associated with the progression of EBV-associated cancers

ชื่อโครงการ การค้นหายีนที่มีความสัมพันธ์ต่อการพัฒนาความรุนแรงของโรคมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อไวรัสเอ็ปสไตน์-บาร์

Identification of genes associated with the progression of EBV-associated cancers
ชื่อนักวิจัย จักรกฤษ เหวชัยภูมิ

Chukkris Heawchaiyaphum

คณะ/หน่วยงาน
สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รายละเอียดการติดต่อ ที่อยู่ : 99 หมู่ 18 ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

โทรศัพท์มือถือ 0878755708

E-mail : chukheaw@tu.ac.th

ชื่อที่ปรึกษาโครงการ
ทิพยา เอกลักษณานันท์
คณะ/หน่วยงาน
ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์
รายละเอียดการติดต่อ
ลักษณะของโครงการวิจัย
ไวรัสเอ็ปสไตน์-บาร์เป็นไวรัสที่มีความสามารถในการก่อมะเร็งชนิดหนึ่ง ซึ่งการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งหลังโพรงจมูก (nasopharyngeal carcinoma; NPC) มะเร็งกระเพาะอาหาร (EBV-associated gastric carcinoma; EBVaGC) และมะเร็งช่องปาก (oral squamous cell carcinoma; OSCC) เนื่องจากในปัจจุบันมีความก้าวหน้าของเทคโนโลยีชั้นสูง และประกอบกับยังไม่มีงานศึกษาวิจัยที่ศึกษากลไกการเกิดมะเร็งที่เป็นผลมาจากการติดเชื้อไวรัสเอ็ปสไตน์-บาร์ รวมถึงตัวบ่งชี้ทางชีวภาพที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของการติดเชื้อไวรัสเอ็ปสไตน์-บาร์กับมะเร็งชนิดต่างๆ ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหายีนที่เป็นสัญลักษณ์ (gene signature) และกลไกการเกิดมะเร็ง (common signaling pathway) ที่สามารถใช้ในการทำนายหรือพยากรณ์โรคมะเร็งเยื่อบุที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อไวรัสเอ็ปสไตน์-บาร์ (EBV-associated epithelial cancers; EBVaCAs) โดยใช้ระเบียบวิธีการทางชีวสารสนเทศศาสตร์ (bioinformatics) ในเซลล์ และตัวอย่างชิ้นเนื้อมะเร็งชนิดต่างๆ จากการศึกษาพบว่าจากยีนที่มีการแสดงออกทั้งหมดในเซลล์มะเร็งทั้ง 3 ชนิดที่มีการติดเชื้อไวรัสเอ็ปสไตน์-บาร์ ได้แก่ มะเร็งหลังโพรงจมูก มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งช่องปาก มียีนจำนวน 12 ยีนที่มีการแสดงออกที่ผิดปกติในเซลล์มะเร็งทั้ง 3 ชนิด ในจำนวนนี้พบว่ามียีนจำนวน 4 ยีนที่มีการแสดงออกที่สูงขึ้นผิดปกติในเซลล์มะเร็งมีการติดเชื้อไวรัสเอ็ปสไตน์-บาร์ทั้ง 3 ชนิดเมื่อเปรียบเทียบกับเซลล์ที่ไม่มีการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ ได้แก่ BAMBI, SLC26A9, SGPP2 และ TMC8 เมื่อศึกษาการแสดงออกของยีนเหล่านี้ในตัวอย่างชิ้นเนื้อพบว่ามีเพียง SLC26A9 และ TMC8 ที่มีการแสดงออกที่สูงขึ้นผิดปกติในตัวอย่างชิ้นเนื้อที่มีการติดเชื้อไวรัสเอ็ปสไตน์-บาร์เมื่อเปรียบเทียบกับตัวอย่างชิ้นเนื้อที่ไม่มีการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ นอกจากนี้การศึกษานี้ยังพบว่ายีนที่มีการแสดงออกที่ผิดปกติเหล่านี้สัมพันธ์กับ IL6/JAK/STAT3 และ TNF-α/NF-κB signaling pathway ซึ่งเป็น กลไก (hallmark) ที่พบในเซลล์มะเร็งที่มีการติดเชื้อไวรัสเอ็ปสไตน์-บาร์ และนอกจากนี้ยังพบว่าการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับ IL6/JAK/STAT3 และ TNF-α/NF-κB signaling pathway ในเซลล์ และตัวอย่างชิ้นเนื้อมะเร็งที่มีการติดเชื้อไวรัสเอ็ปสไตน์-บาร์นั้นมีการแสดงออกที่สูงขึ้นผิดปกติเมื่อเปรียบเทียบกับในเซลล์ และตัวอย่างชิ้นเนื้อมะเร็งที่ไม่มีการติดเชื้อไวรัสเอ็ปสไตน์-บาร์ จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการแสดงออกที่สูงขึ้นของยีน SLC26A9 และ TMC8 สามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้และพยากรณ์โรคที่มีประสิทธิภาพของมะเร็งที่มีการติดเชื้อไวรัสเอ็ปสไตน์-บาร์ รวมถึงข้อมูลเชิงลึกที่เกี่ยวข้องกับกลไกระดับโมเลกุลของมะเร็งที่เป็นผลมาจากการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้อีกด้วย