Novel Metal-Organic Frameworks as Fluorescent Sensor for Highly Selective and Sensitive Detection of Paraquat ข้อมูลนักวิจัย

| 0

ชื่อโครงการ ฟลูออเรสเซนซ์เซนเซอร์ของโครงข่ายโลหะอินทรีย์ชนิดใหม่สำหรับตรวจวัดพาราควอตอย่างจำเพาะและมีความไวสูง

Novel Metal-Organic Frameworks as Fluorescent Sensor for Highly Selective and Sensitive Detection of Paraquat
ชื่อนักวิจัย นายเทียนชัย วิวาสุขุ

Theanchai Wiwasuku

คณะ/หน่วยงาน
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รายละเอียดการติดต่อ ที่อยู่ : 224 หมู่ 2 ตำบลหนองไผ่ล้อม อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ 32170

โทรศัพท์มือถือ 0844545156

E-mail : T.wiwasuku@gmail.com

ชื่อที่ปรึกษาโครงการ สุจิตรา ยังมี
คณะ/หน่วยงาน
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รายละเอียดการติดต่อ
ที่อยู่  : 123 หมู่ 16 ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40002

เบอร์โทรศัพท์ 0815923712

E-Mail : Sujittra@kku.ac.th
ลักษณะของโครงการวิจัย การปนเปื้อนของสารกำจัดวัชพืชในอาหารและสิ่งแวดล้อมถือเป็นปัญหาสำคัญต่อสุขภาพมนุษย์และความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม งานวิจัยนี้ได้สังเคราะห์วัสดุโครงข่ายโลหะอินทรีย์ชนิดใหม่ของโลหะแลนทาไนด์ ชื่อว่า Tb-MOFเพื่อใช้เป็นฟลูออเรสเซนซ์เซ็นเซอร์ตรวจวัดพาราควอตซึ่งเป็นสารกำจัดวัชพืช โดยอาศัยการติดตามการลดลงของฟลูออร์เรสเซนซ์ วัสดุTb-MOF ที่สังเคราะห์ขึ้นมีความเสถียรต่อน้ำ ทนต่อกรดและด่าง มีความไวและความเลือกจำเพาะสูงในการตรวจวัดพาราควอตในตัวกลางที่เป็นน้ำ โดยมีช่วงความเป็นเส้นตรงในการตรวจวัดระหว่างความเข้มข้น 0 ถึง 50 µM สามารถตรวจวัดพาราควอตได้ที่ขีดจำกัดการตรวจวัดที่ต่ำ (2.84 µM) นอกจากนี้ Tb-MOF สามารถนำไปวิเคราะห์ปริมาณของพาราควอตในน้ำและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร (ถั่วฝักยาวและกะหล่ำปลี) โดยมีร้อยละของการกลับคืน (%recovery) เป็นที่น่าพอใจ (85.59-100%) จากการจำลองด้วยระเบียบวิธี time-dependent density functional theory (TD-DFT) ได้เผยให้เห็นอันตรกิริยาทางไฟฟ้าสถิตที่จำเพาะระหว่างพาราควอตและลิแกนด์ในโครงสร้างของ Tb-MOF การถ่ายโอนอิเล็กตรอนเนื่องจากการกระตุ้นด้วยแสงจาก Tb-MOF ไปยังพาราควอตและการดูดกลืนพลังงานกระตุ้นโดยพาราควอตเป็นสาเหตุที่ทำให้การเปล่งฟลูออร์เรสเซนซ์ของ Tb-MOF ลดลง นอกจากนี้คณะวิจัยได้สร้างชุดตรวจวัดพาราควอตอย่างง่ายแบบกระดาษ (PVA/Tb-MOF@paper) ที่สามารถตรวจวิเคราะห์ปริมาณพาราควอตด้วยตาเปล่าภายใต้การฉายแสงยูวี การศึกษานี้จึงชี้ให้เห็นว่า Tb-MOF สามารถใช้เป็นเซ็นเซอร์ที่มีประสิทธิภาพที่สามารถตรวจวัดพาราควอตในสิ่งแวดล้อมและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรได้