Studies on microbiota diversity in vectors of important tropical diseases in Thailand

ชื่อโครงการ การศึกษาความหลากหลายของแบคทีเรียในพาหะนำโรคเขตร้อนที่สำคัญในประเทศไทย

Studies on microbiota diversity in vectors of important tropical diseases in Thailand

ชื่อนักวิจัย รัชนี รอดภัย

Rutchanee Rodpai

คณะ/หน่วยงาน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รายละเอียดการติดต่อ โทรศัพท์มือถือ 0810075020

E-mail : rutchanee5020@gmail.com

ชื่อที่ปรึกษาโครงการ ศาสตราจารย์วันชัย มาลีวงษ์
คณะ/หน่วยงาน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รายละเอียดการติดต่อ สาขาวิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น 40002

โทรศัพท์มือถือ 089-6221126

E-Mail : paib_sit@kku.ac.th

ลักษณะของโครงการวิจัย การศึกษาความหลากหลายของแบคทีเรียไมโครไบโอต้าในลูกน้ำยุงลายพาหะก่อโรคไข้เลือดออกในแหล่งระบาดในประเทศไทย และการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเห็บพาหะนำโรคและจุลชีพในเห็บ เพื่อเป็นข้อมูลในการเฝ้าระวังและเตือนภัยโรคที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงการระบาดของเชื้อจากสัตว์สู่คน นอกจากนี้อาจนำผลการศึกษาจุลชีพในยุงลายและเห็บที่ได้ไปพัฒนาการตรวจวินิจฉัย ควบคุมป้องกันการติดเชื้อที่นำโดยเห็บพาหะได้ ช่วยส่งเสริมการศึกษาทางด้านไมโครไบโอต้าของพาหะนำโรคในประเทศไทยที่ยังมีอยู่น้อย มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาแนวทางการควบคุมและป้องกันการนำโรคติดเชื้อจากพาหะ (vector-borne diseases) โดยดำเนินการวิเคราะห์ระดับโมเลกุลในตัวอย่างด้วยวิธี high-throughput next-generation sequencing โดยการวิเคราะห์แบคทีเรียไมโครต้าโดยใช้ยีนที่ตำแหน่ง เรียก the V3-V4 hypervariable regions ของยีน 16S rRNA ของจุลชีพ วิเคราะห์ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของแบคทีเรียไมโครต้า และวิเคราะห์หา dominant bacteria เทียบกันในแต่ละกลุ่มตัวอย่าง มีขั้นตอนดำเนินการวิจัยโดยสังเขป ดังนี้

1. การเก็บตัวอย่าง 1.1 ตัวอย่างยุงลาย ออกสำรวจในพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เก็บลูกน้ำยุงลายตามภาชนะที่มีน้ำขัง ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง แยกชนิดลูกน้ำยุงลายบ้าน (Ae. Aegypti) และยุงลายสวน (Ae. albopictus) เตรียมสกัดสารพันธุกรรมต่อไป อีกส่วนเลี้ยงต่อจนเป็นยุงตัวเต็มวัยและเก็บเพื่อสกัดสารพันธุกรรม 1.2 ตัวอย่างเห็บแข็ง เก็บตัวอย่างเห็บในเขตฟาร์มโคเนื้อ โคนม ของเกษตรกรในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเก็บบริเวณตัวสัตว์ การเก็บจากผิวหนังของสัตว์โดยใช้ปากคีบ (Forceps) บริเวณที่พบเห็บอาศัย ได้แก่ ราวนม แผงคอ ใบหู และขาหนีบ เป็นต้น ตัวอย่างเห็บที่เก็บได้จะถูกนํามาจําแนกระยะ เพศและชนิดจากความแตกต่างทางสัณฐานวิทยาภายนอก (Morphology) และเก็บที่ 4 °C รอสกัดสารพันธุกรรมต่อไป

2. ตรวจสอบเชื้อโรคในแมลงพาหะ 2.1 ตัวอย่างลูกน้ำยุงลาย ตัวอย่างลูกน้ำยุงลายบ้าน Ae. aegypti กับยุงลายสวน Ae. albopictus ที่แยกได้ นำมาสกัดสารพันธุกรรม RNA และทำ One-step RT PCR และ Melting peak analysis เพื่อตรวจหาเชื้อไวรัสเด็งกี่ 2.2 ตัวอย่างเห็บแข็ง การตรวจสอบหาเชื้อสาเหตุโรคที่นำโดยเห็บโดยการสกัดดีเอ็นเอ จากตัวอย่างเห็บแข็งและเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมโดยวิธี PCR ด้วยไพรเมอร์จำเพาะสำหรับเชื้อที่มีเห็บเป็นพาหะ เช่น Babesia spp. Theileria spp. Ehrlichia spp. และ Anaplasma spp. จากนั้นตรวจสอบ PCR product ด้วย Gel electrophoresis และ PCR sequencing วิเคราะห์หาลำดับนิวคลีโอไทด์เพื่อทราบชนิดเชื้อก่อโรคในเห็บแข็ง 3. ศึกษาแบคทีเรียไมโครต้าในพาหะนำเชื้อโรค จากผลการตรวจสอบหาเชื้อสาเหตุโรคที่นำโดยยุงลายและเห็บแข็งแล้วนั้น จำแนกตัวอย่างเป็นกลุ่มควบคุมผลบวกเชื้อแต่ละชนิดและกลุ่มควบคุมผลลบ ในแต่ละการศึกษาคือในยุงลาย และเห็บแข็ง จากนั้นดำเนินการวิเคราะห์ระดับโมเลกุลในตัวอย่างด้วยวิธี high-throughput next-generation sequencing โดยการวิเคราะห์แบคทีเรียไมโครต้าโดยใช้ยีนที่ตำแหน่ง เรียก the V3-V4 hypervariable regions ของยีน 16S rRNA ของจุลชีพ

4. วิเคราะห์ข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ขั้นสูงและวิเคราะห์เปรียบเทียบกับฐานข้อมูลแบคทีเรียทั้งหมด เพื่อให้ทราบถึงชนิดและความหลากหลายของแบคทีเรียไมโครไบโอต้า