การบูรณาการการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในท้องถิ่นเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเกษตรกร
Researcher:Dr. Wanitcha Narongchai and Lecturer Dr. Rakchanok Skillmak
Contact: 123, Social Science Program Faculty of Humanities and Social Sciences Khon Kaen University 4002 Phone Number: 08-999-2359 Email: wanicna@kku.ac.th
Collaborator:TSRI
Patent:
The project “Integrating local stakeholder participation to strengthen farmers’ groups” has the objectives: 1) To remove lessons learned, problems and needs of Ban Nong Ko Farmers Group, Moo 6, Nong Ko Sub-district, Kranuan District Khon Kaen Province 2) to develop and strengthen farmers’ groups Under the integration of local stakeholders in both the public, private and public sectors, and 3) to study the alternative and self-reliance model of farmers groups from the integration of stakeholders in Local To strengthen farmers’ groups The research question is How do farmers’ groups in urban areas have a method for strengthening them? Under the integration of local stakeholders in both the public, private and public sectors And there are ways to strengthen Through alternative models and sustainable self-reliance? By integrating local stakeholders (Partnerships) refers to the cooperation of the public sector, the private sector, and the Ban Nong Ko farmers group (People) to build strengths and foster positive cooperation. To improve or change the way of life of the poor farmers’ households with the principles of creating sustainability. The cooperation of the target partners will be able to resolve the risk reduction problem. Resource integration And profits are shared among all sectors Target groups in the research include The main target group is farmers in the agricultural area of ​​Moo 6 who participated in the project and participated in the activity analysis of problems and needs of the community. Which was appointed to be a working group with the research team of 9 households, a representative group from the community. In spite of being the official leader, namely the headman, vice-headman Village Development Working Group Head of Association / Club And unofficial leaders, including villagers, elders, youth volunteers, totaling 5 people, representatives from the government sector: President of Nong Ko Municipality Kaset, Kranuan District Community Development in Kranuan District Kranuan District Cooperative Director of the Center for Non-Formal and Informal Education, Kranuan District Director of Sri Kranuan Witthayakhom School Director of Bank for Agriculture and Cooperatives Director of Government Savings Bank, Village Headman, Village No. 6, Nong Ko Sub-district, Kranuan District, 10 cases and a group of representatives from the private sector in the community, totaling 4 There are 3 phases of the study process: Phase 1 is an analysis of problems and needs of communities in Ban Nong Ko area, Kranuan District, Khon Kaen Province. It is a period where data is collected to answer the objectives in item 1 by performing in 2 steps: 1) document research. By studying secondary information from academic documents Or related research and 2) qualitative research In-depth interviews were used in conjunction with group interviews. Together with brainstorming techniques To analyze the problems and needs of the community This will lead to analysis of strategies that farmers will choose to use for their livelihoods. Phase 2, the integration of cooperation of local stakeholders, both public, private and public For strengthening farmers’ groups A working group for strengthening farmers’ groups has been established. And set the activity pattern And how to drive the work of the group to achieve the problem Together with workshops This creates participation in the implementation of the project. By coordinating stakeholders to implement group resolutions And experimental research to enhance the strength of farmers’ groups according to a designed activity model with a goal of focusing on the integration of local stakeholders. In addition to enhancing and promoting the development of farmers in the third phase, the evaluation of the alternative model and self-reliance of the farmers’ groups from the integration of local stakeholders. To strengthen farmers’ groups To reflect the strengthening trend in the future The results of the study showed that the farmer households who participated in the group had knowledge and experience in conducting research and transcribing lessons to create an alternative and self-reliance model that was suitable for the problem, demand, potential, knowledge, physical capital and social capital that were Farmers have This leads to the creation of opportunities to increase economic income through the activities of growing vegetables in the combined plots. Production management is learned, market search, such activities strengthen farmers groups under the group’s choice and self-reliance. Use groups to negotiate capitalism and changes in socio-cultural context, especially urban consumption. As a result of this activity, networks of integration and participation of local stakeholders in both the public, private and public sectors have been expanded to strengthen the sustainable farmers’ groups. On the basis of mutual benefit The results of this study could be used as a model for the application of subsistence strategies for the farmers group of Moo 6, Ban Nong Ko, Nong Ko Sub-district, Kranuan District, Khon Kaen Province. By integrating the participation of local stakeholders to negotiate capitalism and changes in the socio-cultural context in the urban area. A group of farmers Together with participation from the public and private sectors This will enable farmers’ households to receive support, especially knowledge that will be directed to the group’s actions. In order to reduce production costs And organize the cultivation system for efficiency And when the farmers’ households are strongly grouped Will be able to negotiate the market system to enable households to maintain a stable life

โครงการ “การบูรณาการการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในท้องถิ่นเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเกษตรกร” มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อถอดบทเรียนสภาพปัญหาและความต้องการของกลุ่มเกษตรกรบ้านหนองโก หมู่ 6 ตำบลหนองโก อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น  2) เพื่อพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเกษตรกร ภายใต้การบูรณาการความร่วมมือของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในท้องถิ่น ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนและ 3) เพื่อศึกษารูปแบบทางเลือกและการพึ่งตนเองของกลุ่มเกษตรกรจากการบูรณาการการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในท้องถิ่น ในการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเกษตรกร โดยมีคำถามการวิจัยคือ กลุ่มเกษตรกรในชุมชนเขตเมืองมีแนวทางการสร้างความเข้มแข็งได้อย่างไร ภายใต้การบูรณาการความร่วมมือของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในท้องถิ่น ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน และมีแนวทางการสร้างความเข้มแข็ง ผ่านรูปแบบทางเลือกและการพึ่งตนเองอย่างยั่งยืนได้อย่างไร โดยการบูรณาการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในท้องถิ่น (Partnerships) หมายถึง การร่วมมือกันของภาครัฐ (Public) ภาคเอกชน (Private) และกลุ่มเกษตรกรบ้านหนองโก (People) ในการสร้างจุดแข็งและเสริมสร้างความร่วมมือในเชิงบวก เพื่อให้เกิดการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของครัวเรือนเกษตรกรที่ยากจนด้วยหลักการของการสร้างความยั่งยืน ซึ่งการร่วมมือของพันธมิตรกลุ่มเป้าหมายจะสามารถแก้ไขปัญหาการลดความเสี่ยง การรวมทรัพยากร และมีการแบ่งปันผลกำไรร่วมกันทุกภาคส่วน

กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยประกอบด้วย  กลุ่มเป้าหมายหลัก คือ เกษตรกรในพื้นที่การเกษตรหมู่ 6 ที่เข้าโครงการและร่วมกิจกรรมวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณะทำงานร่วมกับทีมวิจัย 9 ครัวเรือน กลุ่มตัวแทนจากชุมชน ทั้งที่เป็นผู้นำที่เป็นทางการ ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน รองผู้ใหญ่บ้าน คณะทำงานพัฒนาหมู่บ้านหัวหน้ากลุ่มสมาคม/ชมรม และผู้นำที่ไม่เป็นทางการ ได้แก่ ปราชญ์ชาวบ้านผู้อาวุโส เยาวชนอาสา จำนวนรวม 5 ราย กลุ่มตัวแทนจากภาครัฐ:นายอำเภอกระนวน นายกเทศบาลตำบลหนองโก เกษตรอำเภอกระนวน พัฒนาชุมชนอำเภอกระนวน สหกรณ์อำเภอกระนวน ผู้อำนวยศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอกระนวน ผู้อำนวยการโรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม ผู้อำนวยการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 6 ตำบลหนองโก อำเภอกระนวน จำนวน 10 ราย และ กลุ่มตัวแทนจากภาคเอกชน ในชุมชน จำนวน 4 ราย

กระบวนการศึกษามี 3 ระยะคือ  ระยะที่ 1 เป็นการวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของชุมชนในพื้นที่บ้านหนองโก อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น เป็นระยะที่ดำเนินการเก็บข้อมูลเพื่อตอบวัตถุประสงค์ในข้อที่ 1 โดยดำเนินการเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวิจัยเอกสาร โดยทำการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารทางวิชาการ หรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และ 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกร่วมกับการสัมภาษณ์กลุ่มทำการศึกษา ประกอบกับเทคนิคการระดมสมอง เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน อันจะนำไปสู่การวิเคราะห์ยุทธวิธีที่เกษตรกรจะเลือกใช้สำหรับการดำรงชีพ ระยะที่ 2 การบูรณาการความร่วมมือของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในท้องถิ่น ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเกษตรกร มีการกำหนดคณะทำงานการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเกษตรกร และกำหนดรูปแบบกิจกรรม และแนวทางการขับเคลื่อนการทำงานของกลุ่มเพื่อให้บรรลุปัญหา ร่วมกับการประชุมเชิงปฏิบัติการ เป็นการสร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ  โดยประสานงานผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อดำเนินการตามมติกลุ่ม และการวิจัยเชิงทดลองเพื่อเพิ่มศักยภาพในสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเกษตรกรตามรูปแบบกิจกรรมที่ออกแบบโดยมีเป้าหมายที่มุ่งเน้นการบูรณาการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในท้องถิ่น ประกอบกับเป็นการเสริมสร้างและส่งเสริมการพัฒนาอาชีพเกษตรกร ในระยะที่ 3 เป็นการประเมินผลลัพธ์จากรูปแบบทางเลือกและการพึ่งตนเองของกลุ่มเกษตรกรจากการบูรณาการการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในท้องถิ่น ในการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเกษตรกร เพื่อสะท้อนให้เห็นแนวโน้มความเข้มแข็งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ผลการศึกษา พบว่า ครัวเรือนเกษตรกรที่เข้าร่วมกลุ่มมีความรู้และประสบการณ์ในการทำวิจัยถอดบทเรียนเพื่อสร้างรูปแบบทางเลือกและการพึ่งตนเองที่เหมาะสมกับสภาพปัญหา ความต้องการ ศักยภาพ ความรู้ ทุนทางกายภาพ และทุนทางสังคมที่เกษตรกรมี อันนำไปสู่การสร้างโอกาสเพิ่มรายได้ทางเศรษฐกิจผ่านกิจกรรมการปลูกผักในแปลงรวม มีการเรียนรู้การจัดการผลผลิต การหาตลาด กิจกรรมดังกล่าวทำให้กลุ่มเกษตรกรมีความเข้มแข็งภายใต้ทางเลือกและการพึ่งตนเองของกลุ่ม ใช้กลุ่มเพื่อต่อรองกับกระแสทุนนิยมและการเปลี่ยนแปลงบริบททางสังคมวัฒนธรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริโภคในเขตเมือง จากกิจกรรมดังกล่าวได้มีการขยายผลเกิดเครือข่ายการบูรณาการการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในท้องถิ่น ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนในการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเกษตรกรอย่างยั่งยืน บนพื้นฐานของการได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน และผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นต้นแบบในการปรับใช้กลยุทธ์การดำรงชีพสำหรับกลุ่มเกษตรกร หมู่ 6 บ้านหนองโก ตำบลหนองโก อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น จากการบูรณาการการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในท้องถิ่นเพื่อต่อรองกับกระแสทุนนิยมและการเปลี่ยนแปลงบริบททางสังคมวัฒนธรรมในเขตเมือง การรวมกลุ่มของเกษตรกร ประกอบกับการเข้ามามีส่วนร่วมจากภาครัฐและเอกชน จะทำให้ครัวเรือนเกษตรกรจะได้รับการสนับสนุนด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะความรู้ที่จะนำมาการกำหนดทิศทางการดำเนินการของกลุ่ม เพื่อให้เกิดการลดต้นทุนการผลิต และการจัดระบบการเพาะปลูกให้มีประสิทธิภาพ และเมื่อครัวเรือนเกษตรกรรวมกลุ่มกันได้อย่างเข้มแข็ง ก็จะสามารถต่อรองระบบตลาดทำให้ครัวเรือนสามารถดำรงชีพได้อย่างมั่นคง

The agricultural enterprise group was born. Organic Way Organic products Which has production and has a continuous supply Cooperation has been expanded. And integrate stakeholder participation. Through various projects from departments within the district Faculty and departments of Khon Kaen University As well as academic departments in the province (As shown in Attachment 02)

Post Views: 256